ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
บทความ
ศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ
หน้าที่และบทบาทของสาวก และการปฏิบัติตนต่อสาวก
การปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธ
การปฏิบัติตนในศาสนพิธี
พิธีทำบุญงานมงคลและงานอวมงคล
ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ
พุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ
กำเนิดพระพุทธรูป
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ
ศาสนาอื่นๆ
พุทธสาวก พุทธสาวิกา
พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
พระเขมาเถรี
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล
ชาดก
สุวรรณณหังสชาดก
นันทวิสาลชาดก
สังฆคุณ กับหลักธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔
พระรัตนตรัย
อริยสัจ ๔
พุทธศาสนสุภาษิต
เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2011
อัพเดท4/07/2014
ผู้เข้าชม610188
แสดงหน้า830973




พระพุทธรูปปางต่างๆ

อ่าน 9385 | ตอบ 24
 
 

พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ 
พระพุทธรูปปางถวายเนตร

          พระพุทธรูปปางนี้เป็นพุทธจริยาในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ (มือ)
ทั้งสองห้อยลงมาประสานทับกันอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายประทับยืนทอดพระเนตรต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้

มีประวัติเล่าว่า
          หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำเพ็ญทางใจ โดยเสด็จจาริกหาสถานที่อันสงบเงียบ เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาจึงเสด็จไปประทับนั่งบำเพ็ญภาวนาที่โคนต้นโพธิ์ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ เพื่อทรงพักผ่อนอิริยาบถจนเป็นที่สำราญแล้วก็ทรง เริ่มบำเพ็ญเพียรทางใจ พร้อมกันนั้นก็ทรงตั้งสัจจาอธิษฐานว่า 'ถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลตราบใด ก็จะไม่เลิกความเพียรพยายามตราบนั้น แม้ว่าร่างกายเลือดเนื้อจะซูบผอมเหือดแห่งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลแล้วก็จะไม่ยอมลุกขึ้นเป็นอันขาด'
          พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ไม่นานช้าก็ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณดั่งที่ตั้งพระทัยไว้ หลังตรัสรู้แล้วก็ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ ณ ภายใต้ร่มโพธิ์นั้นนานถึง ๗ วัน ต่อจากนั้นได้เสด็จออกจากต้นโพธิ์ไปประทับยืนกลางแจ้งแล้วผินพระพักตร์กลับมาทางต้นโพธิ์อีกได้ประทับยืนทอดพระเนตรต้นโพธิ์โดยไม่กะพริบตานานถึง ๗ วัน เรียกว่า 'อนิมิสเจดีย์'
          พุทธจริยาตอนทรงจ้องพระเนตรดูต้นโพธิ์ตรัสรู้นี้เอง เป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางถวายเนตรขึ้นสักการบูชา ต่อมาท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวันอาทิตย์


พระพุทธรูปประจำวันจันทร์

พระพุทธรูปปางห้ามญาติ 

          พระพุทธรูปปางนี้เป็นพุทธจริยาในอิริยาบถยืนพระหัตถ์ (มือ) ทั้งสองยกขึ้น เหนือพระ อุระ (อก) ตั้งพระหัตถ์ยื่นไปข้างหน้าแสดงกิริยาห้าม มีพระพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระญาติทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายพุทธบิดาซึ่งเป็นชาวนครกบิลพัสดุ์ และฝ่ายพระพุทธมารดาซึ่งเป็นชาวนครเทวทหะ เกิดพิพาทกันขึ้นเรื่องการแย่งน้ำกันทดเข้านา พระญาติทั้งสองฝ่ายอาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีในการทำนา แต่บังเอิญมีอยู่ปีหนึ่งเกิดฝนแล้งจัดมาก เดือนร้อนกันทั้งสองฝ่ายต้องทดน้ำในแม่น้ำขึ้นไปทำนา น้ำในแม่น้ำก็เกือบแห้งขอด จึงเกิดมีปากเสียงทะเลาะแย่งน้ำกันขึ้น กลายเป็นข้อพิพาทใหญ่โตสำหรับพระญาติทั้งสองฝ่าย เริ่มจากการวิวาทเล็ก ๆ ระหว่างบุคคล ต่อมาได้ลุกลามเป็นการทะเลาะวิวาทระหว่างนครกับนคร มีการด่าทอ กระทบกระเทียบลามไปถึงโคตรเหง้าราชวงศ์ตระกูล และกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกันไปถึงที่สุดกษัตริย์ทั้งสองฝ่ายต่าง มีทิฎฐิมานะสูงอยู่แล้ว พอได้ทราบข่าวจากเหล่าเสนาอำมาตย์เท่านั้น ก็กรีฑาทัพมาประชิดกันที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี เพื่อจะทำสงครามให้รู้แพ้รู้ชนะเลยทีเดียว เดชะบุญก่อนที่จะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
          ในขณะนั้นเองพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นอโครธาราม ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระญาติทั้งสองฝ่ายจะรบกัน ความพินาศอันใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นแก่ราชวงศ์ทั้งสอง จึงได้เสด็จไปห้าม ตรัสถามถึงเรื่องราวแล้วแสดงโทษแห่งการทำสงครามเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าไม่คุ้มค่ากับการที่เอาวงศ์ตระกูลกษัตริย์มาทำลายด้วยเหตุว่ากษัตริย์สูงค่ากว่า
น้ำมากยิ่งนัก และแล้วในที่สุดกษัตริย์ทั้งสองฝ่ายก็เลิกทัพกลับคืนดีกันดังเดิม
         
พุทธจริยาตอนที่ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นแสดงกิริยาห้ามพระญาติทั้งสองฝ่ายมิให้ทำสงครามกันนี้เอง กลายเป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติขึ้นเพื่อสักการบูชา ต่อมาโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระบูชาประจำวันจันทร์ผู้ที่เกิดวันนี้ ควรสร้างพระพุทธรูปปางนี้ไว้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว



 
 

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร

พระพุทธรูปปางไสยาสน์
          พระพุทธรูปปางนี้เป็นพุทธจริยาในอิริยาบถไสยาสน์ คือ นอนตะแคงข้างใช้พระหัตถ์ซ้ายพาดทาบไปตามพระวรกาย พระกัจฉะ (รักแร้) ทับพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นประคองพระเศียร
          สำหรับประวัติพระพุทธรูปปางนี้นั้น มีเรื่องเล่าว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหู ซึ่งเป็นหนึ่งในพวกอสูรได้สดับเกียรติคุณของพระพุทธองค์มากมายหลายอย่าง อาทิว่า พระองค์เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงคิดอยากที่จะเข้าเฝ้าแล้วจะต้องก้มศีรษะพูดกับพระพุทธองค์เป็นการแสดงคารวะอีก เพราะตนเองไม่เคยก้มศีรษะให้ใครจึงคิดตะขิดตะขวงใจอยู่นานแสนนานแม้ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าพระพุทธองค์จะทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังที่ชาวโลกน่ำลือกันหรือเปล่า จึงตัดสินใจเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ
         
ก่อนที่อสุรินทราหูจะเข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความในใจของเขาด้วยอนาคตังสญาณ มีพระประสงค์จะทรมานให้คลายทิฎฐิมานะ เมื่ออสุรินทราหูเข้าเฝ้าจึงเสด็จบรรทมในพระแท่นที่ประทับ ทรงทำปาฎิหาริย์เนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูหลายเท่า แม้พระบาททั้งสองที่ประทับซ้อนกันก็สูงกว่าอสุรินทราหูเสียอีก แทนที่อสุรินทราหูจะก้มศีรษะสนทนากับพระพุทธเจ้าดังที่เคยคิดไว้กลับต้องแหงนหน้าขึ้นสนทนา และชมพระพุทธลักษณะอันงดงามยิ่งนัก อสุรินทราหูเกิดปลื้มปีติอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ลดทิฎฐิมานะลงอย่างทันตาเห็น ประกอบกับมีใจเลื่อมใสในพระพุทธองค์ และยึดถือเป็นสรณะที่พึ่งตลอดไป
         
ด้วยพระพุทธจริยาตอนที่ทรงบรรทมเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตทรมานอสุรินทราหูให้คลายทิฎฐิมานะนี้เอง เกิดเป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขึ้นสักการบูชา ท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระบูชาประจำวันอังคาร ผู้ที่เกิดวันนี้ควรมีพระพุทธรูปปางนี้ไว้สักการบูชาเพื่อจะได้เป็นสิริมงคล อีกทั้งเป็นการบูชาพระถูกต้องตามประเพณีนิยม



พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางวัน

พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร


          พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอิริยาบถยืน พระบาทเรียงชิดเสมอกัน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตร อยู่ในลักษณะรับบิณฑบาตด้วยพระอาการสำรวม พระพุทธรูปปางนี้มีประวัติเล่าว่า สมัยที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จจาริกแสดงธรรมโปรดสัตว์ตามแว่นแคว้นและตามนิคมต่าง ๆ อยู่นั้น พระเกียรติคุณของพระองค์ฟุ้งขจรไปทั่วสารทิศ พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา
ก็ได้สดับพระเกียรติคุณเช่นกัน ทรงปีติโสมนัสยิ่งนัก มีพระประสงค์จะให้พระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ จึงส่งเสนาอำมาตย์ไปหลายคน เพื่อกราบนิมนต์ แต่ก็ไม่มีวี่แววท่านเหล่านั้นจะนำเสด็จพระพุทธองค์กลับกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วยเหตุว่าท่านเหล่านั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแล้วก็ขอบวชอุทิศพระศาสดา พระเจ้าสุทโทธนะทรงคอยแล้วคอยอีกก็ไม่สมพระประสงค์ในที่สุดก็ส่งกาฬุทายีอำมาตย์ไปเฝ้า
จึงสำเร็จพระประสงค์
          เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ใหม่ ๆ เหล่าพระญาติผู้ใหญ่
จะถวายนมัสการก็นึกละอายพระทัย เพราะพระพุทธองค์มีพระชนมายุอ่อนกว่า จึงได้จัดให้พระญาติซึ่งมีอายุน้อยกว่านั่งข้างหน้า เพื่อจะได้ถวายนมัสการโดยให้พระญาติผู้ใหญ่นั่งหลัง พระพุทธองค์มีประประสงค์จะทรมานเหล่าพระญาติให้คลายทิฎฐิมานะ จึงแสดงปาฎิหาริย์เหาะขึ้นไปลอยอยู่บนอากาศให้ปรากฏ ประหนึ่งว่าละอองธุลีแห่งพระบาทของพระองค์ได้หล่นลงบนพระเศียรของพระญาติเหล่านั้น พระเจ้าสุทโทธนะทรงลุกขึ้นประนมพระหัตถ์ถวายอภิวาทเหล่าพระญาติก็ได้ทำตามด้วยความเลื่อมใส เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำลายทิฎฐิมานะของเหล่าพระประยูรญาติแล้วก็ทรงแสดงธรรมโปรดพระญาติให้ดื่มด่ำในรสพระธรรม
         
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมจบแล้ว เหล่าพระญาติก็ทูลลากลับไปยังนิเวศน์ของตน ไม่มีพระญาติแม้สักองค์เดียวที่จะทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ให้เสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะเองก็มิได้ใส่พระทัย ด้วยทรงดำริว่าบุตรของเราไม่มาฉันบ้านเราแล้วจะไปฉันที่ไหน แล้วพระองค์ก็ทรงสั่งให้ข้าราชบริพารตระเตรียมพระกระยาหารเพื่อถวายพระภิกษุโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แต่เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุคือ จะไม่ไปฉันที่บ้านใครโดยที่เขาไม่ได้นิมนต์ไว้ รุ่งขึ้นไม่มีใครไปนิมนต์ให้ไปเสวย ณ ที่ใด พระพุทธองค์ทรงตรวจดูพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จถึงแว่นแคว้นพระพุทธบิดาว่า ทรงทำเช่นไร เพื่อจะทรงทำตามพระพุทธจริยวัตรที่พระพุทธเจ้าในอดีตทรงทำไว้ พระองค์จึงทรงพาเหล่าพระภิกษุจาริกเที่ยวบิณฑบาตตามถนนและละแวกบ้านต่าง ๆ ความทราบถึงพระเจ้าสุทโธทนะ จึงรีบเสด็จมาถามพระพุทธองค์ว่าทำไมไม่เสด็จไปเสวยที่พระราชมณเฑียร ทั้ง ๆ ที่พระองค์ตระเตรียมพระกระยาหารไว้ให้เรียบร้อยแล้ว การทำเช่นนี้ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้พระพุทธบิดาเข้าใจถึงการที่พระองค์ทรงทำตามธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีต
          พระพุทธจริยาตอนที่เสด็จออกบิณฑบาตในนครกบิลพัสดุ์นี้เอง
เกิดเป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นสักการบูชา ท่านโหราจารย์จึงกำหนดให้เป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวันพุธกลางวัน ผู้ที่เกิดวันพุธกลางวันควรมีพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรไว้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล และถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี

 




 
 
 
พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางคืน

พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

          เป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งบัลลังก์ หย่อนพระบาททั้งสองทอดลงมาเหยียบบนพื้น พระพาหา (แขน) ทั้งสองข้างวางบนพระเพลา (เข่า) หงายพระหัตถ์ขวาเป็นกิริยารับหม้อน้ำจากพญาช้างปาลิไลยกะ ซึ่งเป็นช้างอยู่ในป่าหลีกเลี่ยงจากโขลงมาคอยปรนนิบัติพระพุทธองค์ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำลงแสดงกิริยาไม่รับรวงผึ้งจากลิง เนื่องจากรวงผึ้งมีแมลงผึ้งอยู่ ลิงต้องกลับไปเอาแมลงผึ้งและตัวอ่อนออกหมดก่อนแล้วจึงนำไปถวายใหม่ พระองค์จึงทรงรับประเคน
         
พระปางนี้มีเรื่องราวประวัติความเป็นมาว่า สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี พระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ๒ พวก คือ กลุ่มพระธรรมถึกที่เคร่งครัดในธรรมตามพระสูตร และกลุ่มพระวินัยผู้ยึดถือเอาพระวินัยเป็นหลักในกรประพฤติ เกิดการทะเลาเบาะแว้งกันในเรื่องอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ แม้พระพุทธองค์ทรงตรัสห้ามถึง ๓ วาระก็ไม่มีพระภิกษุรูปไหนยอมเชื่อฟัง เพื่อจะกำราบ จึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ใกล้หมู่บ้านปาลิไลยกะ และในป่านั้นเองมีพญาช้างสารเชือกหนึ่งซึ่งเป็นช้างฉลาดรู้ภาษามนุษย์ มีบริวารมาก บรรดาช้างพังต่างคอยเบียดเสียดแย่งอาหาร เวลาจะดื่มน้ำก็ได้ดื่มแต่น้ำที่ขุ่น ๆ จึงเกิดความเบื่อหน่ายโขลงช้าง หลีกหนีไปอยู่ราวป่าและไปเจอพระพุทธองค์ ได้เข้าไปงอเข่าถวายบังคมและคอยปรนนิบัติรับใช้ทุกอย่าง ยากที่บุคคลสามัญจะทำได้ เมื่อเข้าไปถึงแล้วก็มองว่าไม่พบอะไร จึงกระทืบควงไม้สาละขนาดใหญ่ถากให้เรียบ ใช้งวงจับหม้อน้ำตักน้ำฉันน้ำใช้ไปตั้งไว้ ถ้าพระองค์ประสงค์น้ำร้อน อีกทั้งหาผลไม้นานาชนิดก็นำมาถวายเป็นประจำ แม้คนธรรมดาสามัญมิอาจทำได้เสมอเหมือน จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งได้มีพญาวานรตัวหนึ่งเห็นกริยาอาการของพญาช้าง จึงอยากจะปรนนิบัติบ้าง เหลือบไปเห็นรวงผึ้งบนกึ่งไม้จึงหักมาถวาย แต่พระพุทธองค์ก็มิทรงรับประเคน จึงถอยออกมาเก็บออกหมดแล้วนำเข้าไปถวายใหม่พระพุทธองค์ทรงรับประเคน พญาวานรก็ดีใจอย่างยิ่งกระโดดโลดเต้น โผนจับกิ่งไว้ต้นโน้นต้นนี้ด้วยความรื่นเริงบันเทิงใจ บังเอิญถึงคราวเคราะห์เผลอไปคว้ากิ่งไม้ผุกิ่งหนึ่ง จึงพลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย
ด้วยผลานิสงส์แห่งการถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธองค์ ก็ได้ไปจุติเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
          เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพีต่างยอมรับผิด จึงเข้าไปหาพระอานนท์เถระเพื่อให้พาเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอให้พระพุทธองค์ทรงยกโทษให้ ชาวบ้านชาวเมืองต่างก็มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ด้วยพระอานนท์เถระซึ่งเป็นพระอุปัฎฐากจึงเดินทางพร้อมกับภิกษุเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อไปถึงช้างปาลิไลยกะเห็นเข้าก็วิ่งจะเข้าไปทำร้ายด้วยความเข้าใจว่าเป็นศัตรู พอพระพุทธเจ้าตรัสห้าม และให้ทราบว่านั่นเป็นพระพุทธอุปัฎฐากจึงทิ้งท่อนไม้เข้าไปรับบาตร-จีวร แต่พระอานนท์มิได้ให้ประการใด หลังจากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงชี้โทษแห่งความแตกสามัคคีแก่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีจากนั้นก็เสด็จกลับเข้าสู่เมืองโกสัมพี ช้างปาลิไลยกะตามเสด็จไปถึงชายบ้านพระพุทธองค์ตรัสกับพญาช้างว่า พระองค์จะไม่เสด็จกลับมาอีกแล้ว และมรรคผลนิพพานก็ไม่เกิดขึ้นแก่ช้างได้ ขอให้ช้างอยู่ในป่าต่อไป ถ้าเข้าเขตมนุษย์แล้วจะเป็นอันตราย พญาช้างได้สดับพระดำรัสเช่นนั้นแล้ว ก็สอดงวงแสดงความเสียใจ จนพระพุทธองค์เสด็จลับตาก็กลั้นลมหายใจตาย ณ ที่นั้นเอง และได้ไปจุติบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
          ด้วยเหตุนี้เอง
พระพุทธจริยาตอนพญาช้างและพญาวานรปรนนิบัติ ได้กลายเป็นตำนานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ต่อมาท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระประจำวันสำหรับผู้เกิดวันพุธ(กลางคืน)

 





 

 
 
พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี

พระพุทธรูปปางสมาธิ


          ปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถทั้งสองหงายขึ้นวางซ้อนกันที่พระเพลา (เข่า) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระเนตร (ตา) ชำเลืองต่ำ ปางนี้มีประวัติความเป็นมากล่าวไว้เป็นตำนานแห่งการสร้างขึ้นภายหลังว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยากที่บุคคลสามัญธรรมดาจะทำได้ พระองค์ทรงใช้เวลานานถึง ๖ ปี ก็ยังมิได้ตรัสรู้ธรรมแต่ประการใด ได้พบโคนต้นโพธิ์ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรยิ่งนัก
จากนั้นก็ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) เข้าหาโพธิพฤกษ์อันสงบ ผินพระพักตร์ออกข้างนอกทางทิศตะวันออก ตั้งพระวรกายตรงดำรงพระสติอยู่เฉพาะหน้า พร้อมกับทรงตั้งจิตอธิษฐานอันมุ่งมั่น เพื่อหวังบรรลุโพธิญาณว่าจะไม่ยอมเลิกความเพียรอย่างเด็ดขาด หากยังมิได้บรรลุอมตธรรม
          พระองค์ทรงตั้งพระทัยเจริญภาวนากำหนดลมหายใจอยู่ไม่ช้าไม่นาน
จิตก็เป็นสมาธิแน่วแน่ พระปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในอมตธรรมกำลังจะเกิดขึ้น ในขณะนั้นเองก็เกิดเหตุการณ์ขึ้นซึ่งเปรียบเป็นบุคคลาธิฐานว่าขณะพระองค์กำลังบำเพ็ญเพียรมีสมาธิอันแน่วแน่อยู่นั้น ได้มีพญามารมาผจญถึงที่ประทับ พญามารได้พาเหล่าเสนามารมารบเร้ากลั่นแกล้งด้วยประการต่าง ๆ เพื่อที่จะให้พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญเพียรและลุกหนีไปจากที่ประทับ แต่ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ตั้งพระทัยไว้อย่างเด็ดเดี่ยวว่า หากยังมิได้บรรลุคุณธรรมจะไม่ยอมลุกจากที่นั่งเด็ดขาด แม้ว่าพระวรกายจะซูบผอมเหือดแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูดก็ตามที ด้วยจิตอันแน่วแน่พระองค์ไม่สะทกสะท้านต่อการรบกวนของพญามารใด ๆ ทั้งสิ้น ฝ่ายพญามารเมื่อไม่สามารถเอาชนะพระองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ ได้จึงเกิดความท้อแท้ ร้องไห้รำพัน ธิดามาร ๓ คน คือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี จึงเข้าไปปลอบประโลมบิดาพร้อมทั้งกล่าวว่าจะเอาชนะพระองค์ให้อยู่ในอำนาจตนให้ได้แม้นางทั้งสามจะมีรูปร่างหน้าตาสวยสดงดงามยิ่งกว่าหญิงไหน ๆ ในปฐพี และหาวิธีล่อลวงพระองค์ด้วยลีลาอันยั่วยวนต่าง ๆ นานา อีกทั้งแปลงร่างเป็นหญิงวัยต่าง ๆ เพื่อจะเอาชนะพระองค์ทุกกระบวนวิธีแต่ก็ไร้ผล เมื่อพระองค์มิทรงหวั่นไหวแม้แต่น้อยนิด ทรงมีพระทัยแน่วแน่ในการบรรลุพระโพธิญาณ ตัดกิเลสน้อยใหญ่ให้หมดสิ้น เมื่อพระองค์มีพระทัยเด็ดเดี่ยวเช่นนั้น จึงได้ตั้งหน้ารบกับมารต่อไปด้วยพระทัยอันเข้มแข็ง ในที่สุดฝ่ายพญามารก็พ่ายแพ้ต่อพระพุทธองค์ พระองค์ทรงชนะอย่างสุดวิเศษ ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
         
พระพุทธจริยาตอนที่ประทับนั่งขัดสมาธิบำเพ็ญเพียรอยู่ที่โคนต้นโพธิ์นั่นเอง เป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิขึ้นสักการบูชา ต่อมาท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระบูชาประจำวันพฤหัสบดี ผู้ที่เกิดวันนี้ควรสร้างหรือบูชาพระปางสมาธิ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว








 


 
พระพุทธรูปประจำวันศุกร์

พระพุทธรูปปางรำพึง


          ปางนี้อยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นประทับประมานกันที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย แสดงอาการรำพึง  พระพุทธรูปปางนี้มีประวัติว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็เสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่ตามร่มไม้ต่าง ๆ อยู่นั้น มีอยู่คราวหนึ่งขณะประทับอยู่ที่ร่มไม้อชปาลนิโครธ ทรงรำพึงถึงธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากที่คนธรรมดาสามัญจะตามรู้ตามเห็นได้ ถึงกับท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมสั่งสอนประกาศศาสนาให้ชาวโลกได้รับรสอันลึกซึ้งแห่งสัจธรรม
         
แต่ในขณะที่ทรงรำพึงทบทวนไปมาอยู่นั่นเอง ก็ทรงมีพระดำริผุดขึ้นมาในพระทัยว่า บุคคลในโลกนี้ย่อยมีอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน บางพวกมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก บางพวกมีสติปัญญาปานกลาง บางพวกมีสติปัญญาอ่อน บางพวกมีสติปัญญาอ่อนมาก ๆ จนไม่สามารถรับรู้อะไรได้ การแสดงธรรมโปรดบุคคลสามพวกแรกนั้นไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน ส่วนพวกสุดท้ายคงไม่สามารถรับธรรมได้พวกที่มีสติปัญญามาก มีความเฉลียวฉลาด  เมื่อได้รับฟังธรรมขัดเกลาจิตใจแล้วก็สามารถจะรู้ตามเห็นได้ฉับพลันทีเดียว พวกที่มีสติปัญญาปานกลางเมื่อได้รับฟังธรรมครั้งแรกอาจจะไม่เข้าใจ ต่อได้ฟังครั้งที่สองหรือครั้งที่สามแล้วก็อาจจะเข้าใจ สามารถรูเห็นธรรมบรรลุมรรคผลได้พระองค์ทรงเปรียบเทียบบุคคลทั้งหมดนี้ประดุจดอกบัว ๔ เหล่า
         
โดยเหล่าที่หนึ่งโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้ว เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็จักบานในวันนั้น  เหมือนบุคคลกลุ่มที่หนึ่ง เมื่อได้รับฟังธรรมอันลึกซึ้งแล้วก็สามารถบรรลุธรรมได้โดยฉับพลัน เหล่าที่สองอยู่เสมอน้ำเมื่อโผล่ขึ้นมาพ้นจากน้ำแล้วก็จะบานในวันรุ่งขึ้น เหมือนบุคคลกลุ่มที่สอง เมื่อได้รับฟังธรรมขัดเกลาจิตใจถึงสองหรือสามครั้งก็จะสามารถบรรลุธรรมตามได้  ดอกบัวเหล่าที่สามานั้นอยู่ใต้น้ำก็จะค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วก็จะบานในวันต่อ ๆ ไป เหมือนบุคคลกลุ่มที่สามที่ยังมีสติปัญญาอ่อน อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ต้องได้รับการอบรมหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า ก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ในคราวต่อ ๆ ไป ส่วนบุคคลกลุ่มที่สี่นั้นเหมือนกับดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึก ๆ ไม่มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำรับแสงอาทิตย์ได้ ก็จะเป็นภักษาหารของปลา-เต่า และสัตว์น้ำต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้นการแสดงธรรมโปรดสัตว์ก็ไม่ไร้ผลเสียทีเดียว
         
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระญาณอันหยั่งทราบถึงอุปนิสัยของเหล่าสัตว์ผู้ควรจะได้รับรู้ธรรม และมหาชนผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการแสดงธรรมเช่นนั้นแล้ว จึงทรงตั้งปณิธานอันแน่วแน่อย่างพระมหาบุรุษว่า จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แผ่ขจรขจายไปทั่วสารทิศ จนกระทั่งสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไปในอนาคต
         
พระพุทธจริยาตอนที่ทรงประทับยืนรำพึงถึงการแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ และมหาชนนั้นเองกลายเป็นต้นเค้าแห่งความคิดในการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้นไว้สักการบูชา อีกทั้งท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป้นพระพุทธรูปประจำวันศุกร์อีกด้วย




 


 
พระพุทธรูปประจำวันเสาร์

พระพุทธรูปปางนาคปรก


          พระปางนี้มีอาริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองประทับซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมพระเศียร เพื่อมิให้ฝนถูกต้องพระวรกายของพระพุทธองค์  พระพุทธรูปปางนี้มีประวัติกล่าวไว้ว่า คราวหนึ่งหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว แต่ยังมิได้แสดงธรรมประกาศพระศาสนา พระองค์ทรงประทับพักผ่อนอิริยาบถอยู่ที่ร่มไม้มุจรินทร์หรือไม้จิก ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ตรัสรู้ ในขณะที่ทรงประทับพักผ่อนพระอิริยาบถที่ร่มไม้มุจรินทร์อยู่นั้น  บังเอิญเกิดฝนตกไม่ขาดสายเป็นเวลาติดต่อกันนางถึง ๗ วัน นาคราชนามว่ามุจรินทร์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณนั้นเห็นเข้า กลัวว่าพระพุทธองค์จะได้รับความลำบากเพราะถูกฝน จึงได้มานสมัสการและทำขนดล้อมพระวรกาย แผ่พังพานใหญ่ปกคลุมพระเศียรไว้ คล้ายกับเป็นเศวตฉัตรกั้นฝนมิให้ตกลงมาเปียกพระองค์
อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้แมลง เหลือบ ยุง ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานอย่างอื่นมิให้มาทำร้ายพระองค์
พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุตสุขอยู่ที่นั้นด้วยพระอาการสงบจนกระทั่งฝนหยุดตก  เมื่อฝนหยุดตกแล้วพญานาคมุจรินทร์ก็ค่อย ๆ คลายขนดพังพานลงมาถวายนมัสการพระพุทธองค์แล้วก็จากไป
         
พระพุทธจริยาตอนที่เสด็จประทับอยู่ภายในขนดของพญานาค ณ ร่มไม้จิกนั้นเองกลายเป็นต้นเค้าความคิดให้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกขึ้นไว้เพื่อสักการบูชา ต่อมาท่านโหราจารย์ได้กำหนดให้เป็นพระบูชาประจำวันเสาร์ ผู้ที่เกิดวันนี้จึงควรสร้างพระพุทธรูปหรือบูชาไว้เพื่อสักการบูชา เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว


 
lin168.gif

 
ความคิดเห็น :
13
อ้างอิง

หนูชี
 
หนูชี [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:32
14
อ้างอิง

ไอปาน
 
ไอปาน [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:33
15
อ้างอิง

เย็น
 
เย็น [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:34
16
อ้างอิง

456
อาปาน
 
456 [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:34
17
อ้างอิง

อาปลอก
 
อาปลอก [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:34
18
อ้างอิง

ชีๆวัด
 
ชีๆวัด [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:34
19
อ้างอิง

เราอดน้ะ
 
เราอดน้ะ [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:34
20
อ้างอิง

55467
อาปลอกกกกกก
 
55467 [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:35
21
อ้างอิง

ปานนนนนนนนน
 
ปานนนนนนนนน [113.53.41.xxx] เมื่อ 24/11/2017 11:35
22
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 9/12/2019 02:49
23
อ้างอิง

ศาสดาแห่งหมี
สวัสดีครับ ท่านสมาชิกชมรมคนชอบหมี วันพระวันเจ้าไม่เว้นกันเลยอยากจะดูแต่หมี ไม่เข้าใจจริงๆเลยทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ตะโกนหาสรรหาแต่หมี เป็นอะไรกัน! เฮ้ยย ทั้งวันเลยวันนี้ทำงานมีแต่หมีโผล่มาทั้งวันเลยส่งไปให้แล้วก็ยังจะให้ดูอีก มันหมายความว่าไงเนี่ยคนที่ไหนคนจังหวัดอะไรพวกท่านเนี่ย เอ้ยตายแล้ว ดูธรรมะธรรมโมมั่งดิดูปรัชญา คําคม วิถีชีวิต ปรัชญาข่มใจข่มกิเลสตัณหา ดูเป็นบ้างรึเปล่าดูแต่หมี วันพระใหญ่นะ หมีระงมกันทั้งวันทั้งคืนเลยไม่เข้าใจเลยพวกท่านเป็นยังไง จัดมาดิ เอาแบบเบิ้มๆน่ะมะคือลือน่ะ เฮ้ยคนที่ใหนพวกท่านเป็นคนจังหวัดอะไรเกิดวันไหนเกิดปีไหนเกิดปีจอหรือปีอะไรครับผมไม่เข้าใจ ตายแล้วว ทำงานทั้งวันละหมีโผล่ทั้งวันเลย55555 ผมไม่เข้าใจเลยจริงๆโอ้ยตายแล้วพวกท่านมวยกูมาละลาก่อน ดูหมีไปก่อนผมจะดูมวย
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://mast.myreadyweb.com/article/topic-18787.html
ศาสดาแห่งหมี [171.7.239.xxx] เมื่อ 30/08/2020 12:33
24
อ้างอิง

anatasya
sekolahin bpkb di jakarta dan seluruh wilayah indonesia, proses cepat bisa langsung cair hanya 1 hari saja dengan suku bunga rendah serta bpkb mobil aman hingga masa angsuran kredit telah lunas
 
anatasya [110.138.81.xxx] เมื่อ 16/10/2023 22:16
12
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :