พระพุทธรูปปางต่างๆ มีปางที่สำคัญ ดังนี้
♦ สมัยคันธาระ มี ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางปฐมเทศนา ปางอุ้มบาตร ปางประทานอภัย ปางประทานพร ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางปรินิพพาน ปางลีลาหมายถึงตอนที่เสด็จลงจากดาวดึงส์
♦ ประเทศอินเดีย มี ปางตรัสรู้ ปางเทศนา ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางทรมานพญาวานร ปางปรินิพพาน ปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางทรมานช้างนาฬาคีรี
♦ ลังกา มี ปางสมาธิ ปางปรินิพพาน ปางรำพึง ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทานอภัย
♦ สมัยทวารวดี มี ปางเทศนา ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางปรินิพพาน ปางบรรทม ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทานอภัย ประทานพร ปางโปรดสัตว์
♦ สมัยศรีวิชัย มี ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางปรินิพพาน ปางประทานอภัย ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
♦ สมัยลพบุรี มี ปางนาคปรก ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางปรินิพพาน ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางประทานพร ปางประทานอภัย
♦ สมัยเชียงแสน มี ปางมารวิชัย (ทั้งขัดสมาธิเพชรและขัดสมาธิราบ) ปางสมาธิ(ทั้งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร) ปางอุ้มบาตร ปางประดิษฐานรอยพระบาท ปางไสยา ปางนั่งห้อยพระบาท ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางประทับยืน ปางถวายเนตร
♦ สมัยสุโขทัย มี ปางไสยา ปางลีลา ปางประทานอภัย(มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง) ปางมารวิชัย(มีทั้งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร) ปางถวายเนตร ปางสมาธิ(ขัดสมาธิราบ) ปางประทานพร ปางประทับยืน
♦ สมัยอยุธยา มี ปางไสยา ปางมารวิชัย(ทั้งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร) ปางสมาธิ(ทั้งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร) ปางประทานอภัย(มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง) ปางปาเลไลยก์ ปางลีลา ปางประทับยืน
♦ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มี ปางมารวิชัย(ขัดสมาธิราบ) ปางสมาธิ(ขัดสมาธิราบ) ปางประทานอภัย(มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง) ปางไสยา ปางขอฝน (ปางคันธาระ) ต่อมามีคติการสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นใหม่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้เหมือนอย่างที่พระมหากษัตริย์ครั้งกรุงศรีอยุธยาได้เคยทรงบำเพ็ญ จึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหา สมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ตามเรื่องที่มีในพุทธประวัติ แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นนับรวมกับแบบเดิมเป็น 40 ปาง ประดิษฐานอยู่ในหอราชกรมานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ
1. ปางทุกกรกิริยา 2.ปางรับมธุปายาส 3. ปางลอยถาด
4. ปางทรงรับหญ้าคา 5.ปางมารวิชัย 6. ปางสมาธิ
7. ปางถวายเนตร 8. ปางจงกรมแก้ว 9. ปางประสานบาตร
10. ปางฉันสมอ 11. ปางลีลา 12. ปางประทานเอหิภิกษุอุปสมบท
13. ปางปลงกรรมฐาน 14. ปางห้ามสมุทร 15. ปางอุ้มบาตร
16. ปางภุตตกิจ 17. ปางพระเกศธาตุ 18. ปางเสด็จลงเรือขนาน
19. ปางห้ามญาติ 20. ปางพระป่าเลไลยก์ 21. ปางห้ามพระแก่นจันทน์
22. ปางนาคาวโลกน์ 23. ปางปลงพระชนม์ 24. ปางรับอุทกัง
25. ปางพระสรงน้ำ 26. ปางยืน 27. ปางคันธารราฐ
28. ปางพระรำพึง 29. ปางสมาธิเพชร 30. ปางแสดงชราธรรม
31. ปางประดิษฐานพระพุทธบาท 32. ปางสำแดงโอฬาริกนิมิต 33. ปางรับผลมะม่วง
34. ปางขับพระวักกลิ 35. ปางไสยา 36. ปางฉันมธุปายาส
37.ปางห้ามมาร 38. ปางสนเข็น 39. ปางทรงตั้งพระอัครสาวก
40. ปางเปิดโลก
ในสมุดตำราฉบับหลวงครั้งรัชกาลที่ ๓ มีตำราทักษาเป็นตำราที่โหรใช้สำหรับพยากรณ์ กำหนดพระพุทธรูปประจำวันไว้ดังนี้
พระอาทิตย์ |
พระถวายเนตร |
พระจันทร์ |
พระห้ามสมุทร |
พระอังคาร |
พระไสยา (ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนเป็นพระคันธารราฐ) |
พระพุธ |
พระอุ้มบาตร |
พระพฤหัสบดี |
พระสมาธิ |
พระศุกร์ |
พระรำพึง |
พระเสาร์ |
พระนาคปรก |
พระราหู |
พระป่าเลไลยก์ |
พระเกตุ |
พระขัดสมาธิเพชร นั่งสมาธิ |
ในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่9) เมื่อพ.ศ. 2497 คณะรัฐบาลสมัยนั้น มี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี มีความประสงค์จะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ขึ้นให้เป็นงานใหญ่ยิ่งและมโหฬาร คณะกรรมการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษและสร้างพุทธมณฑล มีอาณาบริเวณ 2,500 ไร่ และสร้างพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ประดิษฐานท่ามกลางพุทธมณฑลนั้นเป็นอนุสรณ์สถานชื่อพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป โดยพระราชนิยมขึ้นอีก 2 ปางคือ
1. พระพุทธรูปประทับนั่งปางประทานพร มีพระปรมาภิไธยย่อ 'ภ.ป.ร.' ประดับเนือผ้าทิพย์ เพื่อให้ประชาชนสร้างไว้เป็นที่สักการะบูชาทั่วราชอาณาจักร
2. พระพุทธ นวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 23 ซม. สูง 40 ซม. ด้วยทรงพระประสงค์จะพระราชทานเป็นพระประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร

|