ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
บทความ
ศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ
หน้าที่และบทบาทของสาวก และการปฏิบัติตนต่อสาวก
การปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธ
การปฏิบัติตนในศาสนพิธี
พิธีทำบุญงานมงคลและงานอวมงคล
ข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ
พุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ
กำเนิดพระพุทธรูป
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ
พระพุทธรูปปางต่างๆ
สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ
ศาสนาอื่นๆ
พุทธสาวก พุทธสาวิกา
พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
พระเขมาเถรี
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล
ชาดก
สุวรรณณหังสชาดก
นันทวิสาลชาดก
สังฆคุณ กับหลักธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔
พระรัตนตรัย
อริยสัจ ๔
พุทธศาสนสุภาษิต
เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก
สถิติ
เปิดเมื่อ17/04/2011
อัพเดท4/07/2014
ผู้เข้าชม610120
แสดงหน้า830905


พุทธสุภาษิต ธรรมศึกษาเอก

อ่าน 193640 | ตอบ 12
พุทธสุภาษิต ธรรมศึกษาเอก

       ในบทความนี้เป็นการนำเฉพาะข้อสุภาษิตที่น่าใช้มาให้ผู้เรียนได้เลือกใช้เลือกท่องเตรียมสอบสนามหลวงไว้ก่อนตามหลักสูตรกระทู้ธรรมเอกจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบไม่น้อยกว่า 3 สุภาษิต(ต้องให้ได้ 3 สุภาษิตเชื่อมนั้นเอง) ดังนั้นควรจะเลือกท่องเผื่อไว้ด้วยครับกันลืม
 


1. จิตตวรรค คือหมวดจิต

          อนวสฺสุตจิตฺตสฺส         อนนฺวาหตเจตโส

          ปุญฺญปาปปหีนสฺส       นตฺถิ ชาครโต ภยํ


          ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ   มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว 

          มีบุญและบาปอันละได้แล้ว   ตื่นอยู่   ย่อมไม่มีภัย

                                                
ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.
 

          ตณฺหาธิปนฺนา  วตฺตสีลพทฺธา

          ลูขํ  ตปํ  วสฺสสตํ  จรนฺตา

          จิตตญฺจ  เนสํ  น  สมฺมา  วิมุตฺตํ

          หีนตฺตรูปา  น  ปารงฺคมา  เต 
                                                          

          ผู้ถูกตัณหาครอบงำ  ถูกศีลพรตผูกมัด  ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี, 
   
          จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้  เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้

                                                 
สํ. ส. ๑๕/๔๐.
         

          สุทุทฺทสํ   สุนิปุณํ          ยตฺถ   กามนิปาตินํ

          จิตฺตํ   รกฺเขถ  เมธาวี     จิตฺตํ   คุตฺตํ   สุขาวหํ


          ผู้มีปัญญา  พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก  ละเอียดนัก  มักตกไปใน

          อารมณ์ที่น่าใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้

                                               
 ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
 

2.  ธัมมวรรค คือหมวดธรรม

          โอวเทยฺยานุสาเสยฺย                อสพฺภา  จ  นิวารเย

          สตํ   หิ   โส   ปิโย   โหติ               อสตํ   โหติ   อปฺปิโย.


          บุคคลควรเตือนกัน  ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
 
          เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

                                             
    ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.
 

          จเช  ธนํ  องฺควรสฺส  เหตุ

          องฺคํ  จเช   ชีวิตํ   รกฺขมาโน

          องฺคํ  ธนํ  ชีวิตญฺจาปิ   สพฺพํ

          จเช   นโร   ธมฺมมนุสฺสรนฺโต


          พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ,

          เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ, 

          เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ

          ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง

                                                
ขุ.ชา.อสีติ ๒๘/๑๔๗.
 

          ฉนฺทชาโต   อนกฺขาเต              มนสา จ  ผุโฐ  สิยา

          กาเม  จ  อปฏิพทฺธจิตฺโต           อุทฺธํโสโตติ   วุจฺจติ


          พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ 

          ผู้มีจิตไม่ติดกาม  ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน

                                              
   ขุ.ธ. ๒๕/๔๔.
 
 


  3. วิริยวรรค คือหมวดความเพียร

            โกสชฺชํ   ภยโต   ทิสฺวา              วิริยารมฺภญฺจ   เขมโต

            อารทฺธวิริยา   โหถ                     เอสา   พุทฺธานุสาสนี


            ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัยและเห็นการปรารภความเพียร

            เป็นความปลอดภัย  แล้วปรารภความเพียรเถิด  นี้เป็นพุทธานุศาสนี

                                               
 ขุ.จริยา ๓๓/๕๙๕
 

            ตุมฺเหหิ   กิจฺจํ   อาตปฺปํ             อกฺขาตาโร   ตถาคโต

            ปฏิปนฺนา   ปโมกฺขนฺติ               ฌายิโน   มารพนฺธนา


            ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง  ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก 

            ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว  จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร

                                                     
ขุ.ธ. ๒๕/๕๑
 

          โย  จ   วสฺสสตํ   ชีเว             กุสีโต   หีนวีริโย

          เอกาหํ   ชีวิตํ   เสยฺโย           วิริยํ   อารภโต   ทฬฺหํ


          ผู้ใดเกียจคร้าน  มีความเพียรเลว  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี 

          แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว

          ประเสริฐกว่าผู้นั้น

                                               
  ขุ.ธ. ๒๕/๓๐
 

 4. สามัคคีวรรค คือหมวดสามัคคี

            วิวาทํ   ภยโต   ทิสฺวา                 อวิวาทญฺจ   เขมโต

            สมคฺคา   สขิลา   โหถ               เอสา   พุทฺธานุสาสนี


            ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย

            และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้วเป็นผู้พร้อมเพรียง

            มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี

                                                     
ขุ.จริยา. ๓๓/๕๙๕.
 

            สามคฺยเมว   สิกฺเขถ                พุทฺเธเหตํ   ปสํสิตํ

            สามคฺยรโต   ธมฺมฏฺโฐ            โยคกฺเขมา   น   ธํสติ


            พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น  ท่านผู้รู้ทั้งหลาย  สรรเสริญแล้ว, 

            ผู้ยินดีในสามัคคี  ตั้งอยู่ในธรรม  ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

                                                              
 ขุ.ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๖.
 

            สุขา   สงฺฆสฺส   สามคฺคี             สมคฺคานญฺจนุคฺคโห

            สมคฺครโต   ธมฺมฏฺโฐ                โยคกฺเขมา   น   ธํสติ


            ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข  และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข,    

            ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกันตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

                                                                       
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘.
 

   5. อัปปมาทวรรค คือหมวดไม่ประมาท      
   
           
อปฺปมาทรตา   โหถ                 สจิตฺตมนุรกฺขถ

            ทุคฺคา   อุทฺธรถตฺตานํ              ปงฺเก   สนฺโนว   กุญฺชโร


            ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท  คอยรักษาจิตของตน, 

            จงถอนตนขึ้นจากหล่ม   เหมือนช่างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น

                                                                   
ขุ.ธ. ๒๕/๕๘.
 

            อปฺปมาทรโต   ภิกฺขุ                ปมาเท   ภยทสฺสิ   วา

            อภพฺโพ   ปริหานาย                นิพฺพานสฺเสว   สนฺติเก


            ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท  หรือเห็นภัยในความประมาท 

            เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว

                                                                 
ขุ.ธ. ๒๕/๑๙.
           

            อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน               สญฺญเมน   ทเมน   จ

            ทีปํ   กยิราถ   เมธาวี              ยํ  โอโฆ   นาภิกีรติ


            คนมีปัญญา  พึงสร้างเกาะ  ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ 

            ด้วยความหมั่น  ความไม่ประมาท  ความสำรวม  และความข่มใจ

                                                                 
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘.
 

          Tip: ควรเลือกสุภาษิตที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจะดีมาก และหากสุภาษิตที่ได้นำเสนอมานี้

ยังไม่ถูกใจก็สามารถหาเพิ่มเติมได้จากสุภาษิตเล่ม 3 เท่านั้นนะครับ
 
...
เครดิตสุภาษิต:คู่มือหลักสูตรธรรมศึกษาเอกรวม 4 วิชา ของสำนักแม่กองธรรมสนามหลวง พ.ศ. 2550
 

 

ด้านล่างนี้เป็นสุภาษิตทั้ง 5 หมวดตามขอบข่ายการออกสอบธรรมสนามหลวง ผู้เรียนธรรมศึกษาเอกจะ

ต้องท่องเตรียมไว้ 3 สุภาษิตครับ สามารถเลือกได้ดังนี้ครับ
 

สุภาษิตที่ 1 หมวดความไม่ประมาท

          อปฺปมาทรตา โหถ               สจิตฺตมนุรกฺขถ

          ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ            ปงฺเก สนฺโนว กุญชโร


          ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท

          จงตามคุ้มครองจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม

          เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้นจากหล่มฉะนั้น

                              
ที่มา.. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา
 
ประเด็นหลักที่ต้องอธิบาย

          1. ยินดีในความไม่ประมาท ได้แก่ยินดีในการละกายทุกจริตประกอบกายสุจริต ยินดีในการละวจีทุจริต ประกอบวจีสุจริต ยินดีในการละมโนทุจริต ประกอบมโนสุจริต ยินดีในการละความเห็นผิด ประกอบความเห็นถูก

         
2. รู้จักตามคุ้มครองจิตของตน ได้แก่รู้จักคุ้มครองป้องกันจิตใจของตนไม่ให้ประมาทมัวเมา ไม่ให้ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่มายั่วยุให้เกิดความโลภ ความโกรธและความหลง โดยการเจริญสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน เช่น เจริญสติปัฏฐาน 4 เป็น

         
3. ให้ถอนตนจากหล่ม ได้แก่ให้ถอนตนจากหล่ม คือกามคุณ5 ไม่ให้ตกอยู่ในกามคุณ5 คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ชาวโลกติดอยู่ จมอยู่จึงเปรียบเหมือนที่หล่ม ที่สัตว์ตกไปแล้วขึ้นยากฉะนั้น
 

 
สุภาษิตที่ 2 หมวดจิต

          อนวสฺสตจิตฺตสฺส            อนนฺวาหตเจตโส

          ปุญฺญปาปปหีนสฺส         นตฺถิ  ชาครโต  ภยํ


          ผู้มีจิตใจไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว

          มีบุญและบาปอันละได้แล้วตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย

                        
ที่มา.. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา
 
ประเด็นหลักที่ต้องอธิบาย

          1. เป็นผู้มีจิตไม่ชุ่มด้วยราคะ หมายความว่าไม่มีราคะครอบงำจิตใจ มีจิตใจปราศจากราคะแล้ว

         
2. มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว หมายความว่า ไม่มีโทสะครอบงำใจ มีจิตใจปราศจากโทสะแล้ว

         
3. เป็นผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว หมายความว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่งหมดกิเลสแล้ว ยังไม่มีการทำกรรมที่เป็นบุญและบาป คือเว้นบาปได้เด็ดขาดแล้ว แม้จะมีการทำความดีอยู่ แต่การกระทำนั้น ก็เป็นเพียงกิริยา มิได้จัดเป็นกรรม จึงไม่นับเป็นบุญ

         
4. เป็นผู้ตื่นอยู่ ได้แก่ เป็นผู้ตื่นจากกิเลสส ปราศจากโมหะ ปราศจากอวิชชาแล้ว โดยประการทั้งปวง

          ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ย่อมไม่มีภัย คือไม่มีชาติภัย ชราภัย และมรณภัย เป็นต้น

 

 
สุภาษิตที่ 3 หมวดธรรม

          หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย             ปมาเทน น สํวเส

          มิจฺฉาทิฏฺฐิ น เสเวยฺย         น สิยา โลกวฑฺฒโน


          ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่ด้วยความไม่ประมาท

          ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก

                        
ที่มา.. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา
 
ประเด็นหลักที่ต้องอธิบาย

          1. ไม่ควรเสพธรรมที่เลว หมายความว่า ไม่ควรติดอยู่ จมอยู่ในกามคุณ5 คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

         
2.ไม่ควรอยู่ด้วยความไม่ประมาท หมายความว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความปราศจากสติ ไม่ควรอยู่ด้วยความพลั้งเผลอ ด้วยความไม่ระมัดระวัง

          3. ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ หมายความว่าไม่ควรถือมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด เช่นเห็นว่าทำดีไม่ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว เป็นต้น

         
4. ไม่ควรเป็นคนรกโลก หมายความว่า เสพธรรมที่เลวเป็นต้นดังกล่าวนั้น ชื่อว่าเป็นคนรกอยู่ในโลก เพราะการติดอยู่ในกามการอยู่ด้วยความประมาทและการถือมิจฉาทิฏฐินั้น เป็นการเพิ่มพูนกองทุกข์ จึงไม่ควรทำเช่นนั้น
 

 
สุภาษิตที่ 4 หมวดความเพียร

          ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ          อกฺขาตาโร ตถาคโต

          ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ         ฌายิโน มารพนฺธนา


          ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง พระตถาคตเป็นเพียงแต่ผู้บอก

          ผู้มีปกติเพ่งพินิจปฏิบัติแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร

                             
ที่มา.. ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปทคาถา
 
ประเด็นหลักที่ต้องอธิบาย

          1. ท่านทั้งหลายจงทำความเพียรเอง หมายความว่าการทำความเพียรเอการพ้นทุกข์นั้น เป็นหน้าที่ที่ผู้ต้องการพ้นทุกข์ จะต้องพากเพียรปฏิบัติเอง การทำความเพียรทุกอย่าง ผู้ต้องการทำความดีจะต้องพากเพียรทำเองจะให้คนอื่นทำแทนมิได้

         
2. พระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก หมายความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอกทาง เป็นเพียงผู้สอนเท่านัน จะหยิบยื่นความดีให้คนอื่น จะทำให้คนอื่นบริสุทธิ์มิได้

         
3. ผู้มีปกติเพ่งพินิจ ปฏิบัติแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร หมายความว่าผู้ปฏิบัติเพ่งพิจารณาอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน หรือเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จักพ้นจากบ่วงมาร คือจักพ้นจากกามคุณ จักพ้นจากสังสารวัฏ ไม่เวียนวายตายเกิดอีกต่อไป
 

 
สุภาษิตที่ 5 หมวดสามัคคี

          วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา            อวิวาทญฺจ เขมโต

          สมคฺคา สขิลา โหถติ         เอสา พุทฺธานุสาสนี


          ท่านทั้งหลายเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย

          และเห็นความไม่วิวาทโดยความเป็นธรรมอันเกษม (จากภัย)

          แล้วจงเป็นผู้พร้อมเพียงกัน มีความประนีประนอมกันเถิด

          นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี

                        
ที่มา.. ขุทฺทกนิกาย จริยาปิฏก
 
ประเด็นที่ต้องอธิบาย

            พระพุทธศาสนสุภาษิตนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนให้มีความสามัคคี ให้พิจารณาให้เห็นว่าความวิวาทบาดหมางกัน ความทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นภัย เป็นอันตราย เป็นเหตุให้ตนและหมู่คณะแยกแตกกัน อันเป็นทางแห่งความพินาศและให้เห็นว่า และให้เห็นว่าความไม่วิวาทบาดหมางกันไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นธรรมอันเกษม และเป็นพระพุทธานุศาสนี

         
1. เป็นธรรมอันเกษม คือเป็นสิ่งที่ปลอดภัย ไร้อันตราย เป็นเหตุให้คนและหมู่คณะรักใคร่ปรองดองกัน และทรงสอนให้ยึดมั่นในสามัคคี ให้มีความรักกันฉันมิตร

         
2. เป็นพระพุทธานุศาสนี คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
 

 
          สุดท้ายคงจะถูกใจและง่ายต่อการเลือกใช้นะครับ และสำหรับบทความนี้ก็ขอจบไว้เท่านี้ครับ
 

 

 


 
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

นักเรียน
 ขอบคุณครับ
 
นักเรียน [125.27.218.xxx] เมื่อ 24/08/2013 09:01
2
อ้างอิง

มนตรี
 
มนตรี [101.108.30.xxx] เมื่อ 3/09/2013 23:04
3
อ้างอิง

กดดดด
หมานัด
 
กดดดด [203.114.109.xxx] เมื่อ 10/07/2015 13:49
4
อ้างอิง

ผผผผผร
  
 
ผผผผผร [203.114.109.xxx] เมื่อ 10/07/2015 13:53
5
อ้างอิง

hahahaha
 
hahahaha [171.4.248.xxx] เมื่อ 7/11/2017 19:26
6
อ้างอิง

เด็กที่กำลังปวดหัวกับสอบธรรมะ
็้
 
เด็กที่กำลังปวดหัวกับสอบธรรมะ [124.122.40.xxx] เมื่อ 28/11/2019 18:44
7
อ้างอิง

คนสอบพรุ่งนี้
ดีมาก สอบพรุ่งนี้จร้า
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.domien.com
คนสอบพรุ่งนี้ [110.169.230.xxx] เมื่อ 28/11/2019 22:56
8
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 8/12/2019 04:28
9
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 17/12/2019 01:22
10
อ้างอิง

กกกก
ครูภวย
 
กกกก [1.46.142.xxx] เมื่อ 21/12/2020 13:10
12
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :